การตั้งชื่อ ของ เกล็ดหิมะ (กอริลลา)

เดิมทีลิงกอริลลาตัวนี้มีชื่อว่า อึนฟูมู อึงกุย ในภาษาฟอง (ซึ่งหมายถึง "กอริลลาสีขาว") โดยผู้จับมันมา จากนั้นมันได้รับชื่อใหม่คือ ฟลูแกตดาเนว (ภาษากาตาลา หมายถึง เจ้าเกล็ดหิมะน้อย[1]) โดยผู้เลี้ยงดูมันที่ชื่อ ฌอร์ดี ซาบาเต ปี[2][3] หลังจากนั้น เมื่อมันเดินทางมาถึงบาร์เซโลนาก็ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการจากนายกเทศมนตรีของบาร์เซโลนาชื่อฌูแซป มาริอา ดา ปูร์ซิออลัส ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1966 ซึ่งมันได้รับการเรียกในชื่อ บลังกาเนียเบส (ซึ่งหมายถึง "สโนว์ไวต์") ในหนังสือพิมพ์เตเล/อักซเปรส [4] แต่มันก็กลายเป็นที่รู้จักจากชื่อที่ตั้งให้แก่มันโดย Sabater เมื่อนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ได้แสดงการขึ้นหน้าปกของมันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967 โดยมีชื่อว่าเกล็ดหิมะในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อที่ได้รับการแพร่กระจายโดยสื่อมวลชน (ทั้งนิตยสารชแตร์น, ไลฟ์, ปารี-มัตช์) ส่วนตัวซาบาเตเองเรียกกอริลลาตัวนี้ว่า โกปี หรือ ฟลูแกต และต่อมาเรียกว่า เอ็นฟูมู นอกจากนี้ มันยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ลิตเติลบัตเตอร์คัป"[5] และ "วานิลลากอริลลา" รวมถึงดาวเคราะห์น้อย 95962 โกปีโต ที่ได้รับการค้นพบโดยโคตา. มันเตกา ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ชาวสเปน ยังได้ทำการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่มัน[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เกล็ดหิมะ (กอริลลา) http://www.anuaris.cat/continguts/article.php?id=2... http://mdc.cbuc.cat/cdm4/document.php?CISOROOT=/sa... http://www.biomedcentral.com/1471-2164/14/363 http://www.huffingtonpost.com/2013/06/17/albino-go... http://www.manteka.com/copito/ http://www.theatlantic.com/entertainment/archive/2... http://www.dewarwildlife.org/jrdavis-gorilla-studb... //doi.org/10.1186%2F1471-2164-14-363 http://web.expasy.org/spotlight/back_issues/049/ http://www.pbs.org/wnet/nature/snowflake